อีเมลยังคงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการสื่อสารออนไลน์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยน้อยที่สุด นั่นคือเหตุผลที่เราต้องดูแลมันเป็นพิเศษ
ในปัจจุบัน ขณะที่การรุกรานยูเครนของรัสเซียยังคงดำเนินต่อไปและการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากประชาคมโลกที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความกังวลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
แม้จะยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการ แต่ตอนนี้เจ้าหน้าที่สหรัฐได้ออกมาเตือนพลเมืองในประเทศ ให้ระวังการโจมตีทางอีเมลจากรัสเซีย และประเทศที่ลงชื่อประณามรัสเซีย ก็มีโอกาศที่จะโดนโจมตีเช่นกัน โดยไทยคือหนึ่งในนั้น มาลองดู 2 วิธีรักษาความปลอดภัยบนอีเมล ที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองกัน
หลายคนใช้รหัสผ่านแบบเดียวกันกับไอดีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook , email , Twitter ซึ่งก็เข้าใจแหละว่า มันช่วยให้จำได้ง่าย แต่ในแง่ความปลอดภัย มันอันตรายมาก และ Password ควรตั้งให้ปลอดภัยด้วยเช่น ต้องยาวอย่างน้อย 8 ตัว มีตัวเลขและสัญลักษณ์รวมอยู่ในนั้น แต่หากกลัวจำไม่ได้ ลองใช้แอปช่วยจำรหัสผ่าน เช่น Lastpass ก็จะช่วยได้เยอะ
ทำไมถึงต้องเน้นเรื่องรหัสผ่าน เพราะรหัสผ่านของเราเป็นด่านแรกในการป้องกันคนที่ต้องการแทรกซึมบัญชีเพื่อ เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและการสื่อสารของเรา จึงจำเป็นตรวจสอบให้แน่ใจว่าการป้องกันนี้แข็งแกร่ง ไม่ใช่ใช้รหัสผ่านที่เดาทางได้ง่าย เช่น qwerty 12345678 หรือ Password ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นแฮกเกอร์หรอก เด็ก 10 ขวบก็เดารหัสผ่านนี้ได้
ภาพจาก Cat cyfence
การตกเหยื่อหรือ ฟิชชิ่ง ยังคงเป็นหนึ่งในวิธีที่แฮกเกอร์ใช้ในการเจาะเข้าสู่อีเมล จุดสังเกตง่าย ๆ คือ หากเราเห็นอีเมลที่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนส่งมา และเนื้อหาในเมลขอให้เราคลิกลิงก์หรือดาวน์โหลดไฟล์แนบอย่างเร่งด่วน ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นฟิชชิ่ง แต่หากเผลอกดเปิดลิงก์ ส่วนใหญ่แล้วจะให้เราใส่รหัสผ่านต่างๆ
หากแฮกเกอร์ต้องการรหัสผ่าน Gmail ของเรา เขาอาจจะสร้างหน้าปลอมๆ ของ Gmail ขึ้นมาแล้วให้เราใส่รหัสลงไป เมื่อใส่ไปแล้ว นั่นเท่ากับว่าเราให้ Password แฮกเกอร์ไปดื้อๆ เลย ให้รีบเปลี่ยนรหัสผ่านทันที
นอกจากนี้ ฟิชชิ่งเมลมักจะมีการใช้คำผิดหลักไวยกรณ์หรืออ้างเหตุผลที่กำลังเป็นเทรนด์ ซึ่งล่าสุด สงครามรัสเซีย-ยูเครน ก็กำลังถูกใช้เป็นเคมเปญการโจมตีแบบฟิชชิ่งไปทั่วโลก
ทั้งหมดนี้คือ 2 วิธีป้องกันการโจมตีจากอีเมล เราสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเราเอง ซึ่งแม้จะมีเครื่องมือปกป้องภัยทางไซเบอร์ที่ดีแค่ไหน แต่ยังไง “คน” ก็ยังถือเป็นจุดอ่อนที่สุดในการป้องกันภัยคุกคาม ฉะนั้น จงทำให้ตัวให้ปลอดภัยอยู่เสมอ!
ขอขอบคุณข้อมูลจาก techhub.in.th