วันศุกร์, 20 กันยายน 2567

(2HSE News ฉบับที่ 48/29Dec22) 14Quality Principle วันนี้คุณทำ 14Q แล้วหรือยัง?✅

29 ธ.ค. 2022

14Quality Principle หรือ 14Q คืออะไร?

👉(Q1) Stop Sign ป้ายหยุด หยุดคือ STOP ถามว่าเราจะประยุกต์ใช้อย่างไรกับการทำงานของเรา เช่นลูกค้าร้องเรียนเข้ามา เกิดปัญหาคุณภาพ เราก็หยุด เพื่อตรวจสอบกระบวนการของเราว่าถูกต้อง หรือทำได้ตามมาตรฐานลูกค้าหรือไม่สำหรับน้องๆในส่วนงานการผลิต การหยุด เมื่อพบปัญหาอย่างเช่นพารมิเตอร์ไม่สอดคล้องกับที่มาตรฐานได้เขียนไว้ ในส่วนของการตรวจสอบน้องๆที่เป็น QC QA หยุดเมื่อของเสียเราพบเป็นจำนวนมากแล้วถ้าหากไม่หยุดปัญหาพวกนี้จะถูกเกิดขึ้นเรื่อยๆ พี่ๆ Engineer และ หน่วยงานคุณภาพจะเข้ามาช่วยกันดูปัญหาเหล่านั้น ว่าผิดพลาดหรือบกพร่องจากข้อกำหนดของลูกค้าหรือไม่เพื่อนำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุง เพราะฉะนั้นหลักการง่ายๆ ถ้ามีปัญหาด้านคุณภาพ ”หยุดครับ”

👉(Q2) Andon Cord สายหยุดฉุกเฉิน  สายหยุดฉุกเฉินก็คือกรณีที่มีคุณภาพเบี่ยงเบนเกินข้อกำหนด โดยเกินหรือต่ำกว่ามาตรฐาน พนักงานจะต้องทำการรายงานหัวหน้างานเพื่อทำการหยุดการผลิต หรือหยุดของเสียที่จะเกิดขึ้นเช่นกรณีที่เกจวัดมาตรฐานเกินข้อกำหนดพนักงานจำเป็นที่จะต้องรายงานหัวหน้าหรือกรณีที่ผลทางเคมีเกินข้อกำหนดมาตรฐาน กรณีเช่นนี้เช่นกันที่จะต้องรายงานหัวหน้าเป็นต้น ถ้ากรณีพนักงานไม่หยุดเครื่องหรือไม่ดำเนินการแจ้งหัวหน้างาน หรือแจ้งทีมงานที่เกี่ยวข้องมารับทราบปัญหาหรือช่วยกันแก้ไข ปัญหาที่ตามมาก็คืออาจจะเกิด Defect ที่เรียกว่า วอยด์ แล้ว Defect นี้จะทำให้เกิดของเสียในกรณีที่แผนกต่อไปไม่สามารถจับปัญหานี้ได้ ปัญหานี้ก็จะสามารถหลุดลอดไปถึงลูกค้าได้ และจะเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต

👉(Q3) Instructions หรือข้อกำหนด ทุกคนน่าจะทราบอยู่แล้วในโลกนี้มีข้อกำหนดทั่วไป บริษัทเราซึ่งมีข้อกำหนดด้วยกันอยู่ 2 ประเภทหลักๆข้อกำหนดที่มีการอนุมัติ เช่น WI ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และข้อกำหนดที่เป็นป้ายบ่งชี้อาทิเช่น ป้าย 5ส ,Safety และ Easy work หากพนักงานปฏิบัติตามข้อกำหนด จะได้รับผลก็คือค่าเป้าหมาย รวมไปถึงงานที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพที่ดีสามารถส่งมอบให้กับลูกค้าทันเวลาแต่หากพนักงานไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด สิ่งที่พนักงานจะได้รับคือเงินค่าเป้าหมายที่หายไปอาจจะส่งผลถึงด้านคุณภาพของพนักงานเอง และอุบัติเหตุ อยากให้พนักงานมาทำตามข้อกำหนดที่บริษัทกำหนดไว้

👉(Q4) Process parameter ช่วงกำหนดในการทำงาน  เราจะเห็นว่าในบริษัทมีขั้นตอนการทำงาน WI Control plan ต่างๆ จะถูกระบุไว้ชัดเจนจากวิศวกรรมว่าเราจะต้องทำงานในช่วงที่ระบุไว้ตัวอย่างเช่น ความชื้น อุณหภูมิ Hold Time เช่น Hold Time 12 ชั่วโมง. ก็จะต้องควบคุมให้อยู่ภายใน 12 ชั่วโมง ถ้าเกินจากนั้น อาจจะส่งผลกับคุณภาพของงานพอเราทำงานไปเรื่อยๆทุกวัน เราจะทราบในข้อกำหนดนั้น ครั้งหนึ่งเราอาจจะพบว่าไปที่ค่าต่ำ หรือสูงสุดว่า จุดนี้คือข้อสังเกตุว่าจะต้องมีปัญหาอะไรหรือมีแนวโน้มที่ผิดปกติ ซึ่งจะทำให้สามารถป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้เราควบคุมได้ทุกอย่างจะเป็นไปตามมาตรฐาน

👉(Q5) Masurement/test equipment เครื่องมือวัด คือเครื่องมือที่ใช้วัดค่าต่างๆของชิ้นงานเช่น เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาดของความลึกความกว้าง เครื่องมือวัดเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการผลิตชิ้นงานซึ่งการวัดที่ถูกต้องแม่นยำจะทำให้ชิ้นงาน ซึ่งการวัดที่ถูกต้องแม่นยำจะทำให้ชิ้นงานการผลิตออกมาตรงตามมาตรฐานความต้องการของลูกค้าเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพคือเครื่องมือวัดที่มีการสอบเทียบเพื่อให้ผลลัพธ์มีความแม่นยำเชื่อถือได้และมีค่าตรงตามเดิมทุกครั้งที่ทำการวัดชิ้นงานเพื่อควบคุมคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานของลูกค้าอีกทั้งยังป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการผลิตลดของเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือวัดที่ไม่เหมาะสมหรือเครื่องมือวัดชำรุดเกินอายุสอบเทียบ โดยที่พนักงานสามารถตรวจสอบได้จากบรรจุภัณฑ์ของเครื่องมือวัด หรือที่ตัวเครื่องมือวัดให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาเครื่องมือเท่านี้การใช้เครื่องมือวัดก็จะเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น

👉(Q6) Check the checker ตรวจผู้ตรวจสอบ แปลความหมายตรงๆ ก็คือ ตรวจสอบการตรวจสอบ อ่านแล้วอาจจะ งงๆ นิดหนึ่งว่าเราจะตรวจสอบอะไร จริงๆกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เราทำกันอยู่แล้วในโรงงานของเรา ยกตัวอย่างให้พนักงานทุกท่านเห็นภาพอย่างแรก พนักงาน(CO) ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบใบรายงานของพนักงานก่อนเริ่มการผลิต นั่นก็คือการตรวจสอบแล้ว อย่างที่ 2 การที่พนักงาน PQC หรือ FQC ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงาน ผ่านการสอบใบเซอร์อันนั้นก็เป็นกิจกรรมหนึ่งของ Check the checker อย่างที่ 3 ไม่ว่าจะเป็นแผนกของ AOI หรือ F-test ในการที่คุณใช้ golden sample ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องจักรก่อนที่คุณจะเริ่มผลิตงานนั่นก็ใช่ อย่างสุดท้าย เช่น ไม่ว่าเป็นเครื่อง 2D หรือ เครื่องไลน์เกท ที่เราใช้ในการตรวจสอบคุณภาพงาน เหล่านั้นเมื่อมีการทำ MSA นั่นก็คือการตรวจสอบแล้ว อ่านดูแล้วน่าจะเห็นภาพว่าเรื่องของ Check the checker เป็นเรื่องใกล้ตัวของเรา ทุกๆคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้อยู่แล้ว กิจกรรมนี้มีความสำคัญในการ confirm คุณภาพงานของเรา  Check the checker ตรวจสอบเพื่อความถูกต้อง

👉(Q7) Total productive Maintainance การบำรุงรักษาทั่วองค์กร TPM ย่อมาจาก total productive maintenance หรือการบำรุงรักษาทั่วองค์กร ก็คือการที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาเครื่องจักรให้ดีและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนะครับหากเครื่องจักรสมบูรณ์เดินงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้วสิ่งที่เราได้ตามมาคือ
1.ผลผลิตเพิ่มขึ้น
2.คุณภาพที่ออกมาจากเครื่องจักรทำให้ของเสียลดลง
3.สร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวพนักงานเองด้วยว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากเครื่องจักรต้องเป็นศูนย์
4.สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ในขณะที่มาเยี่ยมชมโรงงานเรา
ดังนั้น การทำ TPM มีความสำคัญกับโรงงานเราเป็นอย่างยิ่งนะครับผม จึงขอเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมกันปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จนติดเป็นนิสัย “เชื่อเถอะเราทำได้”

#วันนี้คุณทำ14Qหรือยัง?

(Q8) Tools เครื่องมือ ในโรงงานของเรามีเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตงานมากมายหลายชนิด เช่น ดอกสว่าน ใบมีด ลูกกลิ้ง ซึ่งเครื่องมือแต่ละชนิดจะมีข้อกำหนด ตามระยะการใช้งานจำนวนครั้งต่างกันออกไป (ยกตัวอย่าง) เครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่าดอกสว่าน คือเครื่องชนิดหนึ่งที่ใช้เจาะรูลงไปในแผ่น PCB ที่เราผลิตข้อกำหนดจำนวนครั้งที่ใช้งานต้องใช้ตามขนาดของดอกสว่าน และดอกสว่านสามารถลับคมและนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ ผลกระทบหากไม่ปฏิบัติตาม หากเราใช้งานดอกสว่านเกินจากจำนวนครั้งที่กำหนดจะทำให้เกิดปัญหาซึ่งสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น รูเบลอ หรืออาจจะเกิดปัญหาร้ายแรงกว่านั้น ที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น ผนังรูเกินมาตรฐาน ข้อที่สำคัญ การจัดเก็บดอกสว่านให้พร้อมใช้งานตลอดเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดอกสว่านต้องเก็บในกล่องที่มิดชิด ระบุวันที่ผลิต ขนาดของดอกสว่าน เครื่องที่ลับดอก จำนวนครั้งที่ลับ และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องบ่งบอกว่าดอกสว่านอยู่ในสถานะ OK หรือ NG นิยามของคำว่าเครื่องมือต้องใช้งานตามข้อกำหนด 100%

(Q9) Restart เริ่มต้นใหม่ ก็คือสิ่งที่เราพบบ่อยที่สุดนะครับ ตัวอย่าง อย่างแรกที่เราเจอ คือ 1.เครื่องจักรหยุดชะงัก 2.ไฟฟ้าดับ หรือขัดข้อง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เราจะตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ หรือแรงงดันลมต่างๆ รวมไปถึงพารามิเตอร์ที่เรากำหนดไว้จะต้องอยู่ในค่ามาตรฐาน ที่สำคัญผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานที่อยู่ในตัวเครื่องจักรเอง เราต้องกำหนดวิธีจัดการ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการ Rework เพื่อจะส่งชิ้นงานที่จะขายต่อได้เรียกว่างานดีออกไป
💥ผลกระทบหากเราไม่ปฏิบัติในส่วนของ Q9 เราก็จะเกิดปัญหาว่าเครื่องจักรไม่อยู่ในสภาพที่ใช้งานก็จะเกิดผลกระทบตามมาอีกมากมาย
#วันนี้คุณทำ14Qหรือยัง?

(Q10) Label ป้ายบ่งชี้ หมายถึงฉลากหรือเอกสารที่บอกถึงรายละเอียดของสินค้า วัตถุดิบหรือชิ้นงานนั้นๆ ในเอเพ็กซ์ฯเราขอยกตัวอย่างเป็นใบลอร์ดเทลเลอร์ ซึ่งพนักงานหรือน้องๆเองจะรู้จัก ทำให้เราทราบว่า ชิ้นงานหรือของที่บรรจุอยู่ในกล่องนั้น หรืออยู่ในรถคันนั้นนะครับ คืออะไร และต้องนำไปใช้อะไรต่อ หากกำหนดไม่ชัดเจนอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงาน นำไปใช้ผลิตที่ผิดพลาด มีของเสียในกระบวนการผลิต ซึ่งถ้าเรานำไปกำกับพนักงานไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจน หรือสลับกันจะส่งผลทำให้เรานำงานลู่นั้นไปผลิตในขั้นตอนต่างๆผิดพลาดได้ทันที

(Q11) Rework/Scape งานซ่อมงานเสีย คืองานที่ผิดปกติไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด งานซ่อมเป็นงานที่ถูกแยกออกจากงานปกติ เพื่อนำกลับไปซ่อม แล้วนำกลับไปทำใหม่ ซึ่งการนำกลับไปทำใหม่นี้ ต้องได้รับการอนุมัติ และการควบคุมกระบวนการผลิต ควบคุมอุปกรณ์การผลิต รวมถึงจำนวนที่ผลิตอย่างชัดเจน
       งานเสีย คือ แผ่นงานที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ไม่สามารถซ่อมได้ ต้องถูกกำจัดออกอย่างถูกต้องตามขั้นตอน และป้องกันไม่ให้นำแผ่นงานนั้นกลับมาใช้ใหม่โดยเด็ดขาด ดังนั้น เราต้องทำตามขั้นตอนการทำงาน WI OI อย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดงานซ่อมงานเสีย

(Q12) Dropped Parts ของตกหล่น  หากมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือในการทำงานตกหล่น คำถาม เราสามารถเอาไปใช้ในการผลิตได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่หากอุปกรณ์ที่ตกหล่นไม่ได้ผ่านการตรวจสอบ จากกระบวนการที่ถูกต้อง อาจจะทำให้งานที่เราผลิตมีปัญหาทางด้านคุณภาพ เราต้องแยกงานที่ตกหล่นหรืออุปกร์ที่ตกหล่น ออกจากพื้นที่การผลิต แล้วนำไปเข้าสู่กระบวนการตาม SOP

(Q13) Correct product งานที่ถูกต้อง นิยามของงานที่ถูกต้อง
1.เราต้องใช้วัตถุดิบที่ถูกต้อง
2.เราต้องผลิตถูกต้องตาม WISOP
3. เราต้องผลิตงานโดยไม่ผิดรุ่น ไม่ผิดใบลอตถไวเลอร์ ไม่ผิดDate Code โดยปัจจุบันนี้ APEX เราใช้ลอตถไวเลอร์เป็นตัวอ้างอิงการทำงาน
       โดยพื้นฐานของพนักงานเราทุกคน ทุกกระบวนการนั้นเพื่อที่สนับสนุนให้งานที่ถูกต้องพนักงานต้องตรวจสอบคำสั่งการผลิตเปรียบเทียบกับงานที่กำลังผลิต โดยคำสั่งผลิตนั้น เมื่อเปรียบเทียบแล้ว รุ่นต้องถูกต้อง Mo ต้องถูกต้อง หรือ Date Code ที่เราใช้ในการผลิตต้องถูกต้องเมื่อพนักงานเรามีการปฏิบัติการตาม ตามที่กล่าวมานี้แล้ว จะทำให้เราสามารถมั่นใจได้ว่าในทุกกระบวนการของเราจะผลิตงานที่ถูกต้อง

(Q14) Remaining item งานเศษงานเหลือ การควบคุมงานเศษงานเหลือ คือ วิธีการควบคุมงานที่ผิดปกติหรืองานซ่อม หรืองาน SCRAP ต่างๆ เพื่อไม่ให้ไปปนกับงานทั่วๆไปวิธีการในการควบคุม จะมีการติดป้ายคอนโทรล ชื่อรุ่น จำนวนล็อตการผลิต ให้ชัดดเจนต้องมีการแยกพื้นที่ในการทำงานให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้งานที่เป็นงานเศษไปรวมกับงานปกติที่เราผลิต ณ ปัจจุบัน หลักการที่เราใช้ในการคอนโทรล หลักการ First In First Out เพื่อควบคุมงานเข้า งานออก งานไหนก่อนไปก่อน งานมาทีหลังไปทีหลังเพื่อไม่ให้ปนกับงานทั่วๆไปนะครับถ้าเราไม่เอามาใช้ ปัญหางานที่รุ่นปนหรือเราเรียกว่า มิกซ์พลาส มีโอกาสที่งานเศษต่างๆ จะไปปนกับงานปกติ แล้วทำให้หลุดไปหาลูกค้า