ทุกคนเคยสงสัยไหมว่า Patch คืออะไร ทำไมเวลาเราใช้งานโปรแกรมต่างๆ มักจะมีการแจ้งเตือนให้อัปเดต Patch อยู่เสมอ
วันนี้ MIS News จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Patch อย่างละเอียด ถ้าพร้อมแล้ว ไปหาคำตอบกันเลยค่ะ
โดยทั่วไปแล้ว Patch ของซอฟต์แวร์นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ซึ่งบางครั้ง Patch หนึ่งตัวอาจครอบคลุมได้มากกว่าหนึ่งประเภท Patch ซึ่งแต่ละประเภทก็ได้แก่
1. Patch แก้ไข Bug
Patch ประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการทำงานที่ผิดพลาดภายในซอฟต์แวร์ หรือที่เรียกว่า บัค (Bug) ซึ่งช่วยให้ซอฟต์แวร์ทำงานได้ลื่นไหลขึ้น และลดโอกาสที่ระบบจะล่ม หรือเกิดข้อขัดข้อง ตัวอย่างเช่น หากซอฟต์แวร์มีปัญหาในกระบวนการประมวลผล Patch แก้ไข Bug จะช่วยให้ฟังก์ชันเหล่านี้ทำงานได้ถูกต้อง
2. Patch ด้านความปลอดภัย
Patch ประเภทนี้จะมุ่งเน้นการแก้ไขช่องโหว่ที่อาจเป็นจุดเสี่ยงในการถูกโจมตีจากภายนอก เช่น การโจมตีจากไวรัส หรือการพยายามเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต การอัปเดตความปลอดภัยส่วนนี้มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในองค์กรที่ใช้ข้อมูลที่ต้องได้รับการป้องกันขั้นสูง
3. Patch เพิ่มคุณสมบัติ
Patch เพิ่มคุณสมบัติจะนำความสามารถใหม่ๆ เข้ามาในซอฟต์แวร์ เช่น การเพิ่มเครื่องมือใหม่ ฟังก์ชันใหม่ หรือการปรับปรุง ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface – UI) ให้ใช้งานง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 11 ที่มีการอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ๆ ทุกไตรมาส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้
ดังนั้น เราควรอัปเดต Patch โปรแกรมต่างๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสที่จะโดนโจมตีผ่านช่องโหว่ เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้โปรแกรมและระบบต่างๆ ของเรามีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นแล้วค่ะ
ขอบคุณที่มาจาก : Thaiware