วันศุกร์, 27 ธันวาคม 2567

พามารู้จัก ! ความเป็นมาและหลักการทำงานของ Solar Cell | EM-G

08 ต.ค. 2024

“ความเป็นมาและหลักการทำงานของ Solar Cell”

ความเป็นมาของเซลล์แสงอาทิตย์ เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์
เซลล์แสงอาทิตย์ มีกำเนิดในช่วงปี ค.ศ.1950 ที่ Bell Telephone Laboratory ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ สำหรับใช้ในโครงการอวกาศ จากนั้นมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง และขยายผลสู่ ระดับอุตสาหกรรม ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 50 เป็นต้น

เซลล์แสงอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954 โดย แชปปิน (Chapin) ฟูลเลอร์ (Fuller) และเพียสัน (Pearson) แห่งเบลล์เทลเลโฟน (Bell Telephon) โดยทั้ง 3 ท่านนี้ได้ค้นพบเทคโนโลยีการสร้างรอยต่อพี-เอ็น (P-N) แบบใหม่ โดยวิธีการแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิกอน จนได้เซลล์แสงอาทิตย์อันแรกของโลก ในระยะแรกเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ใช้สาหรับโครงการด้านอวกาศ ดาวเทียมหรือยานอวกาศที่ส่งจากพื้นโลกไปโคจรในอวกาศ ยานอวกาศคอสมอส-วัน เป็นยานอวกาศขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ลำแรกของโลก ต่อมามีการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้บนพื้นโลกมากขึ้น

โซล่าเซลล์ (Solar cell) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ ที่มีความสามารถในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบตัวสารกึ่งตัวนำเพื่อเปลี่ยนมาเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC current) ซึ่งเอานำมาใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทีเราได้ดำเนินการต่อกับระบบโซล่าเซลล์
โดยหลักการทำงานของโซล่าเซลล์ที่อยู่ถูกติดตั้งในแผงของโซล่าเซลล์ นั้นจะเริ่มต้นจากการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระทบกับสารกึ่งตัวนำของโซล่าเซลล์ โดยพลังงานจากแสงอาทิตย์จะทำการถ่ายเทพลังงานให้กับอิเลคตรอนเคลื่อนที่ไปรวมตัวกันที่ขั้วลบของแผงโซล่า และโฮลจะถูกเติมเต็มด้วยอิเลคตรอนจากขั้วบวกของแผงโซ่ล่า ซึ่งจากกระบวนการนี้ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ในที่สุด และสามารถไปใช้งานได้ต่อไป

โซลาร์เซลล์สำหรับโรงงานภาคอุตสาหกรรมถือเป็นพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจมากสำหรับภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากช่วยลดต้นทุนและประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานไฟฟ้าได้ในระยะยาว ซึ่งโซลาร์มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 25-30ปี อีกทั้งยังเป็นพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตกระแสไฟฟ้าจากฝ่ายผลิตได้ ทางบริษัท Apex circuitได้เล็งเห็นประโยชน์ของโซล่าในส่วนขอภาคธุรกิจ และภาคสังคม จึงได้มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านการดำเนินการ โซล่าร์ ขึ้นมา เพื่อนคอยติดตามกันนะครับว่าบริษัทของเรา ติดโซล่าร์ไปแล้วมากน้อยเพียงใด

#SAVE OUR PLANET SAVE ENERGY
#WE CAN DO IT BY OURSELVES
#WE GOAL