ลักษณะของบุหรี่ไฟฟ้า
บุหรี่ไฟฟ้า หรือพอต เป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแบตเตอรี่ ตัวทำให้เกิดไอและความร้อน (Atomizer) และน้ำยา ซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่สร้างความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง ๆ ทำให้ไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ธรรมดา รวมถึงมีกลิ่นหอมระเหยจึงเป็นที่นิยม แต่ผิดกฎหมายของไทย
อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า
บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไหม? ตอบเลยว่า สารเคมีต่าง ๆ ในน้ำยาของบุหรี่ฟ้าก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น
- นิโคติน พบได้ทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดา เป็นสารที่ทำให้ร่างกายเสพติดการสูบบุหรี่ กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด และโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
- โพรไพลีนไกลคอล แค่สัมผัสหรือสูดดม ก็ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ดวงตา และปอด
- กลีเซอรีน เป็นสารเพิ่มความชื้น เมื่อผสมกับโพรไพลีนไกลคอล ยิ่งทำให้ไอ หลอดลมตีบ หอบเหนื่อย
- สารแต่งกลิ่นและรส ยังยืนยันไม่ได้ว่า ถ้าสูดดมแล้วจะปลอดภัยต่อร่างกายมั้ย เพราะเป็นสารที่ใช้กับอาหารทั่วไป แต่ในอเมริกาเคยตรวจพบสารพิษในสารปรุงแต่งกลิ่น เช่น สารไดอะซิทิล (Diacetyl) ตัวการที่ทำให้หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis obliterans)
ลักษณะของบุหรี่ธรรมดา
บุหรี่มวน บุหรี่แบบดั้งเดิมที่คงคุ้นหน้าคุ้นตากัน มีลักษณะเป็นทรงกระบอก ภายในบรรจุใบยาสูบ ห่อด้วยกระดาษบาง และมีส่วนที่เป็นก้นกรองทำหน้าที่กรองควันบุหรี่และน้ำมันดิน รวมถึงช่วยดูดซับความชื้นและมีกลิ่นเหม็น แต่ถูกกฎหมายของไทย
อันตรายของบุหรี่ธรรมดา
ในควันบุหรี่ เต็มไปด้วยสารอันตรายต่าง ๆ เช่น นิโคติน สารเคมี สารก่อมะเร็ง เมื่อสูบบุหรี่แค่ 1 มวน สารเหล่านี้จะเข้าไปทำลายร่างกายแทบจะทุกส่วน และเพิ่มความเสี่ยงการเป็นสารพัดโรคร้าย เช่น
- โรคหัวใจและหลอดเลือด นิโคตินและสารพิษอื่น ๆ ในบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัวและตีบลง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ หัวใจอาจขาดเลือดจนเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
- โรคมะเร็งปอด สารเคมีในบุหรี่จะทำลายเซลล์ปอด ซึ่งมะเร็งระยะเริ่มแรกจะไม่ค่อยแสดงอาการ กว่าจะรู้ตัวก็เป็นหนักแล้ว ทำให้โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูงเป็นอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว
- โรคถุงลมโป่งพอง ยิ่งสูบนาน สูบมาก ยิ่งมีโอกาสเป็น โดยจะมีอาการหายใจลำบาก หายใจได้ไม่เต็มปอด ต้องหายใจถี่และเร็วขึ้นกว่าปกติ
- โรคความดันโลหิตสูง สารพิษในควันบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดตัว หัวใจเลยต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ให้เพียงพอ จึงเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.heygoody.com/th/blogs/lifestyle/e-cigarette-vs-cigarette/
“ระเบียบการใช้พื้นที่สูบบุหรี่”
1.ห้ามสูบบุหรี่ในเวลาทำงาน ยกเว้นช่วงเวลาพัก ดังนี้
กะกลางวัน เวลา 11.00น.-13.30น. และ 16.00น.-18.00น.
กะกลางคืน เวลา 23.00น.-01.30น. และ 04.00น.-06.00น.
2.ทิ้งก้นบุหรี่ในภาชนะที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น ห้ามทิ้งลงพื้นและพุ่มไม้
3.ขยะทุกชิ้น ต้องทิ้งลงในถังขยะที่จัดไว้ให้
4.ผู้ที่ฝ่าฝืน จะดำเนินการลงโทษตามระเบียบบริษัทดังนี้
ครั้งที่ 1 หนังสือเตือนเดือนวาจา
ครั้งที่ 2 หนังสือเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
ครั้งที่ 3 พักงาน
ครั้งที่ 4 พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานบริษัท
การสูบบุหรี่ในพื้นที่ต้องห้ามหรือนอกพื้นที่ที่กาหนด อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ หรืออัคคีภัยที่ร้ายแรง ดังนั้นโทษคือพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานทันที (อ้างอิง PHR-004 7.10.3.4.7 ห้ามพนักงานสูบบุหรี่ หรือก่อให้เกิดประกายไฟในสถานที่ซึ่งเก็บวัตถุไวไฟ หรือวัตถุซึ่งเป็นเชื้อเพลิงภายในโรงงาน หรือสถานที่ทำงานภายในบริเวณโรงงาน เว้นแต่สถานที่บริษัทได้กำหนดไว้ให้สูบบุหรี่เท่านั้น)
สุดท้ายนี้ขอความร่วมมือพนักงาน “ทุกระดับชั้น”ปฏิบัติตามกฏระเบียบบริษัทอย่างเคร่งครัดด้วยนะครับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือแจ้งเบาะแสได้ที่แผนกบุคคล ส่วนงาน Mind Relation ติดต่อคุณหนิง คุณฝน คุณชายเทพ และคุณบลู โทร 610 ,613 หรือ Line : Apex Channel